วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

นวัตกรรมทางการศึกษา


ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 (MAT) ประกอบการใช้
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษา นางประไพจิตร ภูมิภักดิ์
โรงเรียน บ้านตำแยหนองเม็ก
ปีที่ศึกษา 2550
บทคัดย่อ
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ยังไม่บรรลุผลเท่าที่ควรปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ คือผู้สอนส่วนใหญ่ยังใช้กระบวนการสอนแบบเดิม โดยพูดหรืออธิบายให้ผู้เรียนฟัง สื่อการเรียนการสอนไม่ทันสมัยและไม่น่าสนใจ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมน้อย จึงส่งผลให้ผู้เรียนไม่บรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้ ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะนำเอารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน มาเป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียน 4 แบบ ซึ่งลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับโครงสร้างทางสมองและระบบการทำงานของสมองซีกซ้าย ซีกขวา จนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างมีความสุขและบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อในการสอน ซึ่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีหลากหลายรูปแบบทั้งที่เป็นข้อความ ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงต่าง ๆ ผู้ศึกษาได้เลือกรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน โดยใช้รูปแบบวิธีการ ภาพเคลื่อนไหว และเสียงเป็นสื่อ นอกจากนั้นแล้วยังส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง การศึกษาครั้งนี้
มีความมุ่งหมายเพื่อ
1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และ
3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรม การเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านตำแยหนองเม็ก อำเภอพยุห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 (MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ จำนวน 10 แผน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 10 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง 0.34 – 0.75 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง 0.48 – 0.81 และ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 แบบวัดความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง 0.54 – 0.83 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา ปรากฏดังนี้
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.90 / 83.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีดัชนีประสิทธิผลในการเรียนรู้เท่ากับ 0.7276 ซึ่งหมายความว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักร 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.7276 คิดเป็นร้อยละ 72.76
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT)ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

ขอบเขตของการศึกษา
ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาในครั้งนี้ ดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านตำแยหนองเม็ก อำเภอพยุห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต1 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพราะเป็นชั้นที่ผู้ศึกษาสอนประจำชั้นอยู่
2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การตอบสนองของผู้เรียน ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 (MAT) เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย
2.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านตำแยหนองเม็ก อำเภอพยุห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต1
2.2.2 ความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT)เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3. เนื้อหาที่ศึกษา ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 การแสดงออกทางนาฏศิลป์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน ได้แก่ 1)ท่ารำสอดสร้อยมาลา ใช้ประกอบเพลงงามแสงเดือน 2) ท่ารำชักแป้งผัดหน้า ใช้ประกอบเพลงชาวไทย 3)ท่ารำส่าย ใช้ประกอบเพลงรำมาซิมารำ 4)ท่ารำสอดสร้อยมาลาแปลง ใช้ประกอบเพลงคืนเดือนหงาย 5)ท่ารำแขกเต้าเข้ารังและท่ารำผาลาเพียงไหล่ ใช้ประกอบเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ 6)ท่ารำยั่ว ใช้ประกอบเพลงดอกไม้ของชาติ 7)ท่ารำพรหมสี่หน้าและท่ารำยูงฟ้อนหาง ใช้ประกอบเพลงหญิงไทยใจงาม 8)ท่ารำช้างประสานงาและท่ารำจันทร์ทรงกลดแปลง ใช้ประกอบเพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า 9)ท่ารำจ่อเพลิงกาลและท่ารำชะนีร่ายไม้ ใช้ประกอบเพลงยอดชายใจหาญ 10)ท่ารำขัดจางนางและท่ารำจันทร์ทรงกลด (ร้องรอบที่2 ท่ารำล่อแก้วและขอแก้ว) ใช้ประกอบเพลงบูชานักรบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านตำแยหนองเม็ก อำเภอพยุห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต1 เวลา 15 ชั่วโมง ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 10 เล่ม
4. วิธีการศึกษา ผู้ศึกษาใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design
5. ระยะเวลาในการศึกษา ผู้ศึกษาทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ใช้เวลาทดลองจำนวน 15 ชั่วโมง (รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน)

นางประไพจิตร ภูมิภักดิ์. (2550). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 (MAT)
ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลป
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2552, จาก http://www.sisaketedu1.
go.th/51/article/prapaijit/abstract.doc
สิ่งที่ได้เรียนจากการทำบทคัดย่อ
มีทักษะในการค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตดีขึ้น
ฝึกการเขียนบรรณานุกรมเพื่อสามารถนำไปใช้ในการทำภาคนิพนธ์
ได้ศึกษาการทำภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และบทคัดย่อ
เพิ่มทักษะในการส่งอีเมล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น