วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สิ่งที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร

สิ่งที่ได้จากการเรียนวิชา การจัดการสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. ทำให้รู้จักการหาแหล่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอินเทอร์เน็ตได้หลากหลาย
2. ได้ทราบการหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต เช่น ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์
3. สามารถใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) ส่งข้อมูลข่าวสาร การรับข้อมูลข่าวสารจากเพื่อนหรือ
หน่วยงานต่าง ๆ ได้
4. รู้จักการทำ Blog และสามารถใช้ Blog เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้
5. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาและการบริหารงานการศึกษา
6. การทำงานโดยการวิเคราะห์ SWOT จุดอ่อน จุดแข็ง หรือโอกาส
7. ทำให้รู้ว่าการใช้เทคโนโลยีทำได้รวดเร็ว ไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก และประหยัดเวลา
8. ข้อมูลข่าวสารเป็นปัจจุบัน มีความทันสมัย มีความหลากหลาย มีหลายรูปแบบ
9. ได้ศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
10. สิ่งที่สำคัญที่สุดคือสามารถกระตุ้นให้อยากเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถทำงานได้รวดเร็ว สะดวก ประหยัดเวลา และทันต่อเหตุการณ์

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 2

1.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำ blog เป็นของตนเอง
2. รู้จักการหาบทคัดย่อ ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ทางเว็บไซด์ต่าง ๆ
3. ได้ศึกษารูปแบบการทำภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์
4. สามารถเข้าใช้เว็บไซด์ของมหาวิทยาลัย เช่น การกรอกประวัติตนเอง การค้นหาภาคนิพนธ์
วิทยานิพนธ์
บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
สารสนเทศนำมาใช้ในงานต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. ด้านการวางแผน เช่น บริหารงานบุคคล
2. ด้านการตัดสินใจ เช่น การตัดสินใจที่จะรับบุคลากรเพิ่ม
3. ด้านการดำเนินงาน เช่น ปริมาณงานที่ทำได้ใน 1 วัน
ระดับการบริหารในองค์กร มี 3 ระดับ คือ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับปฏิบัติการ
ระดับการตัดสินใจ มี 3 ระดับ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับปฏิบัติการ
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร
1. ระบบประมวลผลรายการ TPS เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการผลิตสารสนเทศซึ่งจัดการเกี่ยวกับรายการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลในแต่ละวัน โดยจะทำการประมวลผลข้อมูลกับงานเพาะส่วนของค์กร มีการเก็บข้อมูลและประมวลผลแยกกัน เป็นระบบที่เกิดขึ้นระดับปฏิบัติการ
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS เป็นระบบที่สนับสนุนการดำเนินงาน การจัดการและการตัดสินใจ จะต้องมีการสร้างฐานข้อมูลเพราะต้องนำข้อมูลจากหลายฝ่ายมารวมกัน จุดเน้นคือการนำ TPS มาทำรายงานสรุปให้ผู้บริหารใช้วางแผน และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เหมาะกับผู้บริหารระดับการ
3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน OIS เกี่ยวข้องกับการจัดระบบการจัดเอกสาร ข่าวสาร การติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร ระบบประชุมทางไกล และระบบสนับสนนุสำนักงาน เมื่อนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาใช้ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS เป็นการเตรียมสารสนเทศเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงโดยสร้างเป็นตัวแบบหรือแบบจำลองที่แสดงผลลัพธ์ในทางเลือกต่าง ๆ ใช้งานได้ง่าย ช่วยการวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
5. ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง ESS เป็นระบบที่ออกแบบสำหรับผู้บริหารระดับสูงใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเป็นระบบที่เข้าใจง่าย ใช้งานง่ายผ่านรูปแบบการสื่อสารและกราฟฟิก
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ เป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการนำมาใช้ในระบบสื่อสารโทรคมนาคม เมื่อวิวัฒนาการก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ต่าง ๆ มีราคาถูกลงทำให้การดำเนินการขยายไปทุกหนทุกแห่ง และระบบสารสนเทศเข้ามามีบทบาทด้านธุรกิจในทุกภาคทุกส่วนทำให้มีผลการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและการเมือง
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
ในแง่บวก เช่น กระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม ช่วยพัฒนาระบบการทำงานให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ประหยัด ช่วยทำให้เกิดการทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา นำมาใช้ในด้านส่งเสริมสุขภาพ ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และช่วยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเอง
ในแง่ลบ เช่น มีผลกระทบต่อโครงสร้างทางสังคม ขัดแย้ง และต่อต้านระหว่างแนวคิดใหม่กับแนวคิดเก่า การก่ออาชญากรรมด้านคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น คุณธรรม จริยธรรมลดลง มีการเห็นแก่ตัวมากขึ้น อัตราการจ้างงานลดลง มีการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงาน
เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง
มีการใช้เทคโนโลยีพัฒนาด้านการเมือง เช่น การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการเมือง พรรคการเมือง การหาเสียง
เทคโนโลยีสมัยใหม่ เทคโนโลยีก้าหน้าไปอย่างรวดเร็ว มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างสารสนเทศ สารสนเทศที่เกิดจาการจัดเก็บข้อมูลที่ดี ทำให้ได้สารสนเทศที่ต้องการและสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จะได้ความรู้ใหม่ และความรู้เหล่านี้จะนำไปสู่การพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ความรู้มี 2 รูปแบบ คือ Tacit Knowledge เป็นความรูที่อยู่ในตัวบุคล เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคล และ Explicit Knowledge ความรู้ที่สามารถเผยแพร่และถ่ายทอดสู่สาธารณชนได้
การจัดการความรู้ คือ กระบวนการใช้เทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อกระตุ้นให้พนักงานทุกระดับได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ประสบการณ์ได้อย่างเปิดเผย ต่อเนื่อง ตรงไปตรงมา เพื่อการพัฒนาโดยรวมขององค์กร การกระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กรโดยไม่ต้องใช้งบมาณมากมายแต่เป้าหมายหลักและวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร
กระบวนการจัดการเชงกลยุทธ์ มี 3 ขั้นตอน
การวิเคราะห์กลยุทธ์ เป็นเป็น 2 องค์ประกอบ คือ การวิเคราะสภาพแวดล้อมภายใน ได้แก่ จุดแข็ง จุดอ่อน และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ โอกาสและอุปสรรค
การจัดทำกลยุทธ์ เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 และจากการประเมินตนเองมาจัดทำ ได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย
การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เน้นการประเมินโดยมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำเร็จขององค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น เพิ่มปริมาณการขาย การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เช่น เสียค่าใช้จ่ายสูงและต้องเสียเวลา จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง มีความเสี่ยง
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อองค์กร เช่น ด้านความล้มเหลวขององค์กร ทำให้สินค้าล้าสมัยเร็ว
บทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดการความรู้ โดยการบูรณาการที่เกิดจากการสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือการต่อยอดองค์ความรู้เดิมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านการพานิชย์และการค้า รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อหาข้อสรุป หรือทางแก้ไขจริง สร้างสรรค์
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปความคิดหรือการกระทำ สิ่งประดิษฐ์ที่นำมาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อเปลี่ยแปลงที่มีอยู่เดิมให้มีระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร การเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การบริหารจัดการ
ขอบข่ายของนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีใหม่ ๆ เทคนิคการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน พัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ใช้เทคนิคด้านคอมพิวเตอร์ในปรับใช้ในกระบวนการเรียนการสอน วิธีการออกแบบหลักสูตรใหม่ ๆ การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา ได้แก่ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความพร้อม การใช้เวลาเพื่อการศึกษา ประสิทธิภาพในการเรียน
การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา มีองค์ประกอบดังนี้ โครงสร้างองค์กร บุคลากร กระบวนการ กลยุทธ์และยุทธวิธี เครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา มี 3 ระดับ คือ ความเป็นเลิศของบุคคล ความเป็นเลิศของทีมงาน ความเป็นเลิศขององค์กร
หลักการของนวัตกรรมการศึกษา มีหลักการไว้ 5 ประการ คือ
1. นวัตกรรมเป็นเรื่องความคิด
2. เป็นกุญแจสำคัญเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
3. ประสิทธิภาพของนวัตกรรมสามารถเพิ่มราคาได้
4. ผู้บริหารสูงสุดต้องนำและมีความรับผิดชอบต่อนวัตกรรม
5. ผู้บริหารสูงสุดต้องผูกพันและแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น
แนวโน้มของนวัตกรรมและการใช้นวัตกรรมใหมาในองค์กร ดังนี้
1. การสร้างนวัตกรรมในองค์กร เช่น กล่องความคิด ทุนทางสติปัญญา
การบริหารนวัตกรรม
2. การใช้นวัตกรรมใหม่ในองค์กร
ช่องว่างของการจัดการนวัตกรรม ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การมีระบบรักษาความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล และการติดต่อสื่อสารกันได้โดยการตอบและรับข้อมูลตลอดเวลา

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

นวัตกรรมทางการศึกษา


ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 (MAT) ประกอบการใช้
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษา นางประไพจิตร ภูมิภักดิ์
โรงเรียน บ้านตำแยหนองเม็ก
ปีที่ศึกษา 2550
บทคัดย่อ
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ยังไม่บรรลุผลเท่าที่ควรปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ คือผู้สอนส่วนใหญ่ยังใช้กระบวนการสอนแบบเดิม โดยพูดหรืออธิบายให้ผู้เรียนฟัง สื่อการเรียนการสอนไม่ทันสมัยและไม่น่าสนใจ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมน้อย จึงส่งผลให้ผู้เรียนไม่บรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้ ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะนำเอารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน มาเป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียน 4 แบบ ซึ่งลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับโครงสร้างทางสมองและระบบการทำงานของสมองซีกซ้าย ซีกขวา จนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างมีความสุขและบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อในการสอน ซึ่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีหลากหลายรูปแบบทั้งที่เป็นข้อความ ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงต่าง ๆ ผู้ศึกษาได้เลือกรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน โดยใช้รูปแบบวิธีการ ภาพเคลื่อนไหว และเสียงเป็นสื่อ นอกจากนั้นแล้วยังส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง การศึกษาครั้งนี้
มีความมุ่งหมายเพื่อ
1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และ
3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรม การเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านตำแยหนองเม็ก อำเภอพยุห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 (MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ จำนวน 10 แผน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 10 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง 0.34 – 0.75 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง 0.48 – 0.81 และ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 แบบวัดความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง 0.54 – 0.83 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา ปรากฏดังนี้
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.90 / 83.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีดัชนีประสิทธิผลในการเรียนรู้เท่ากับ 0.7276 ซึ่งหมายความว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักร 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.7276 คิดเป็นร้อยละ 72.76
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT)ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT) ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

ขอบเขตของการศึกษา
ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาในครั้งนี้ ดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านตำแยหนองเม็ก อำเภอพยุห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต1 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพราะเป็นชั้นที่ผู้ศึกษาสอนประจำชั้นอยู่
2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การตอบสนองของผู้เรียน ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 (MAT) เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย
2.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านตำแยหนองเม็ก อำเภอพยุห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต1
2.2.2 ความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4(MAT)เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3. เนื้อหาที่ศึกษา ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 การแสดงออกทางนาฏศิลป์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน ได้แก่ 1)ท่ารำสอดสร้อยมาลา ใช้ประกอบเพลงงามแสงเดือน 2) ท่ารำชักแป้งผัดหน้า ใช้ประกอบเพลงชาวไทย 3)ท่ารำส่าย ใช้ประกอบเพลงรำมาซิมารำ 4)ท่ารำสอดสร้อยมาลาแปลง ใช้ประกอบเพลงคืนเดือนหงาย 5)ท่ารำแขกเต้าเข้ารังและท่ารำผาลาเพียงไหล่ ใช้ประกอบเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ 6)ท่ารำยั่ว ใช้ประกอบเพลงดอกไม้ของชาติ 7)ท่ารำพรหมสี่หน้าและท่ารำยูงฟ้อนหาง ใช้ประกอบเพลงหญิงไทยใจงาม 8)ท่ารำช้างประสานงาและท่ารำจันทร์ทรงกลดแปลง ใช้ประกอบเพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า 9)ท่ารำจ่อเพลิงกาลและท่ารำชะนีร่ายไม้ ใช้ประกอบเพลงยอดชายใจหาญ 10)ท่ารำขัดจางนางและท่ารำจันทร์ทรงกลด (ร้องรอบที่2 ท่ารำล่อแก้วและขอแก้ว) ใช้ประกอบเพลงบูชานักรบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านตำแยหนองเม็ก อำเภอพยุห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต1 เวลา 15 ชั่วโมง ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 10 เล่ม
4. วิธีการศึกษา ผู้ศึกษาใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design
5. ระยะเวลาในการศึกษา ผู้ศึกษาทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ใช้เวลาทดลองจำนวน 15 ชั่วโมง (รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน)

นางประไพจิตร ภูมิภักดิ์. (2550). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 (MAT)
ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ท่ารำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลป
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2552, จาก http://www.sisaketedu1.
go.th/51/article/prapaijit/abstract.doc
สิ่งที่ได้เรียนจากการทำบทคัดย่อ
มีทักษะในการค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตดีขึ้น
ฝึกการเขียนบรรณานุกรมเพื่อสามารถนำไปใช้ในการทำภาคนิพนธ์
ได้ศึกษาการทำภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และบทคัดย่อ
เพิ่มทักษะในการส่งอีเมล์

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ภาพประทับใจ














น้ำตกเอราวัณ - กาญจนบุรี น้ำตกชั้นแรกมีชื่อว่า"ไหลคืนรัง" ชั้นต่อมาชื่อ"วังมัจฉา" ชั้นที่ 3 "ผาน้ำตก" ชั้นที่4"อกผีเสื้อ" ชั้นที่ 5 "เบื่อไม่ลง"ชั้นที่ 6"ดงพฤกษา" และชั้นสุดท้ายชื่อว่า "ภูผาเอราวัณ" โดยนำตกแต่ละชั้นไม่ใช่มีแค่ชื่อที่ไม่เหมือนกันเท่านั้น แต่น้ำตกแต่ละชั้นก็มีความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป

ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 1


3.1 ความรู้ที่นักศึกษาได้รับจากการเรียนในครั้งนี้โดยสรุป
1. สามารถส่งข้อมูลทางอีเมล์ได้และสามารถแนบไฟล์ไปกับอีเมล์ได้
2. สามารถค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์ซึ่งมีหลากหลาย เช่น รูปภาพ ตัวหนังสือ และเสียง
3. การใช้อีเมล์ทำให้ทำงานได้รวดเร็วและไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
4. รู้จักการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ตใช้งานร่วมกับการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์
3.2 ประโยชน์ที่มีของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ต่อกระบวนการจัดการศึกษา
1. ค้นหาข้อมูล ข่าวสาร การศึกษาทางอินเตอร์เน็ต
2. การสมัครต่าง ๆ ไม่ต้องเดินทางไปสามารถสมัครทางอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
เช่น การต่อใบประกอบวิชาชีพ
3. สามารถนำข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตมาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราได้ ข้อมูลปรเภทตัวหนังสือ
รูปภาพ และเสียง
4. ค้นหาข้อมูลย้อนหลังได้สะดวก และรวดเร็ว ข้อมูลครบถ้วน
5. สามารถพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
6. การซื้อขายสินค้าและบริการเป็นการจับจ่ายซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ
3.3 เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ตเมื่อเทียบกับการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต
โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต
ข้อดี
- สามารถ ส่ง - รับ ข้อมูลทางอีเมล์ได้รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
- สามารถสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่นได้์
- สามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและข้อมูลย้อนหลังได้
- สามารถสามารถซื้อสินค้าและบริการทางอินเตอร์เน็ตได้
- ข้อมูลมีทั้งที่เป็นภาพ เสียง และความเรียง
- ข้อมูลเป็นข้อมูลที่ update ตลอดเวลา
ข้อเสีย
- ต้องมีการเชื่อมต่อทุกครั้งที่ใช้งาน
- ต้องปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันด้วยตนเอง
- หากไม่มีสัญญานก็ไม่สามารถใช้งานได้
- มีไวรัสทำให้ติดมาในเครื่องคอมพิวเตอร์อาจทำให้ข้อมูลเสียหายได้
โปรแกรมใช้งานคอมพิวเตอร์ส่นบุคคล
ข้อดี
- ใช้งานได้ทันทีเพราะมากับเครื่องคอมพิวเตอร์
- ใช้ได้สะดวกไม่ต้องเชื่อมต่อสัญญาณ
ข้อเสีย
- ต้องปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันด้วยตนเอง

ภาพประทับใจ














สวนสุภัทราแลนด์ -ระยอง เป็นสวนผลไม้ที่เปิดให้นักท่องเที่ยว
เข้าชมสวนและชิมผลไม้ในสวนโดยต้องเสียค่าผ่านเข้าสวน
คนละ 50.- บาท มีรถพ่วงบริการนั่งได้ประมาณเกือบ 30 คน
ส่วนรถเล็กที่ให้นักท่องเที่ยวขับเข้าไปเอง ค่าเช่าชั่วโมงละ
200.- บาท ในสวนนั้นมีผลไม้หลากหลาย ได้แก่ ทุเรียน
มังคุด เงาะ สละ ระกำ

แนะนำตนเอง