วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 2

1.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำ blog เป็นของตนเอง
2. รู้จักการหาบทคัดย่อ ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ทางเว็บไซด์ต่าง ๆ
3. ได้ศึกษารูปแบบการทำภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์
4. สามารถเข้าใช้เว็บไซด์ของมหาวิทยาลัย เช่น การกรอกประวัติตนเอง การค้นหาภาคนิพนธ์
วิทยานิพนธ์
บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
สารสนเทศนำมาใช้ในงานต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. ด้านการวางแผน เช่น บริหารงานบุคคล
2. ด้านการตัดสินใจ เช่น การตัดสินใจที่จะรับบุคลากรเพิ่ม
3. ด้านการดำเนินงาน เช่น ปริมาณงานที่ทำได้ใน 1 วัน
ระดับการบริหารในองค์กร มี 3 ระดับ คือ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับปฏิบัติการ
ระดับการตัดสินใจ มี 3 ระดับ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับปฏิบัติการ
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร
1. ระบบประมวลผลรายการ TPS เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการผลิตสารสนเทศซึ่งจัดการเกี่ยวกับรายการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลในแต่ละวัน โดยจะทำการประมวลผลข้อมูลกับงานเพาะส่วนของค์กร มีการเก็บข้อมูลและประมวลผลแยกกัน เป็นระบบที่เกิดขึ้นระดับปฏิบัติการ
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS เป็นระบบที่สนับสนุนการดำเนินงาน การจัดการและการตัดสินใจ จะต้องมีการสร้างฐานข้อมูลเพราะต้องนำข้อมูลจากหลายฝ่ายมารวมกัน จุดเน้นคือการนำ TPS มาทำรายงานสรุปให้ผู้บริหารใช้วางแผน และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เหมาะกับผู้บริหารระดับการ
3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน OIS เกี่ยวข้องกับการจัดระบบการจัดเอกสาร ข่าวสาร การติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร ระบบประชุมทางไกล และระบบสนับสนนุสำนักงาน เมื่อนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาใช้ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS เป็นการเตรียมสารสนเทศเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงโดยสร้างเป็นตัวแบบหรือแบบจำลองที่แสดงผลลัพธ์ในทางเลือกต่าง ๆ ใช้งานได้ง่าย ช่วยการวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
5. ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง ESS เป็นระบบที่ออกแบบสำหรับผู้บริหารระดับสูงใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเป็นระบบที่เข้าใจง่าย ใช้งานง่ายผ่านรูปแบบการสื่อสารและกราฟฟิก
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ เป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการนำมาใช้ในระบบสื่อสารโทรคมนาคม เมื่อวิวัฒนาการก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ต่าง ๆ มีราคาถูกลงทำให้การดำเนินการขยายไปทุกหนทุกแห่ง และระบบสารสนเทศเข้ามามีบทบาทด้านธุรกิจในทุกภาคทุกส่วนทำให้มีผลการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและการเมือง
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
ในแง่บวก เช่น กระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม ช่วยพัฒนาระบบการทำงานให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ประหยัด ช่วยทำให้เกิดการทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา นำมาใช้ในด้านส่งเสริมสุขภาพ ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และช่วยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเอง
ในแง่ลบ เช่น มีผลกระทบต่อโครงสร้างทางสังคม ขัดแย้ง และต่อต้านระหว่างแนวคิดใหม่กับแนวคิดเก่า การก่ออาชญากรรมด้านคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น คุณธรรม จริยธรรมลดลง มีการเห็นแก่ตัวมากขึ้น อัตราการจ้างงานลดลง มีการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงาน
เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง
มีการใช้เทคโนโลยีพัฒนาด้านการเมือง เช่น การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการเมือง พรรคการเมือง การหาเสียง
เทคโนโลยีสมัยใหม่ เทคโนโลยีก้าหน้าไปอย่างรวดเร็ว มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างสารสนเทศ สารสนเทศที่เกิดจาการจัดเก็บข้อมูลที่ดี ทำให้ได้สารสนเทศที่ต้องการและสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จะได้ความรู้ใหม่ และความรู้เหล่านี้จะนำไปสู่การพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ความรู้มี 2 รูปแบบ คือ Tacit Knowledge เป็นความรูที่อยู่ในตัวบุคล เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคล และ Explicit Knowledge ความรู้ที่สามารถเผยแพร่และถ่ายทอดสู่สาธารณชนได้
การจัดการความรู้ คือ กระบวนการใช้เทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อกระตุ้นให้พนักงานทุกระดับได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ประสบการณ์ได้อย่างเปิดเผย ต่อเนื่อง ตรงไปตรงมา เพื่อการพัฒนาโดยรวมขององค์กร การกระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กรโดยไม่ต้องใช้งบมาณมากมายแต่เป้าหมายหลักและวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร
กระบวนการจัดการเชงกลยุทธ์ มี 3 ขั้นตอน
การวิเคราะห์กลยุทธ์ เป็นเป็น 2 องค์ประกอบ คือ การวิเคราะสภาพแวดล้อมภายใน ได้แก่ จุดแข็ง จุดอ่อน และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ โอกาสและอุปสรรค
การจัดทำกลยุทธ์ เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 และจากการประเมินตนเองมาจัดทำ ได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย
การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เน้นการประเมินโดยมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำเร็จขององค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น เพิ่มปริมาณการขาย การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เช่น เสียค่าใช้จ่ายสูงและต้องเสียเวลา จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง มีความเสี่ยง
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อองค์กร เช่น ด้านความล้มเหลวขององค์กร ทำให้สินค้าล้าสมัยเร็ว
บทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดการความรู้ โดยการบูรณาการที่เกิดจากการสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือการต่อยอดองค์ความรู้เดิมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านการพานิชย์และการค้า รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อหาข้อสรุป หรือทางแก้ไขจริง สร้างสรรค์
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปความคิดหรือการกระทำ สิ่งประดิษฐ์ที่นำมาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อเปลี่ยแปลงที่มีอยู่เดิมให้มีระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร การเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การบริหารจัดการ
ขอบข่ายของนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีใหม่ ๆ เทคนิคการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน พัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ใช้เทคนิคด้านคอมพิวเตอร์ในปรับใช้ในกระบวนการเรียนการสอน วิธีการออกแบบหลักสูตรใหม่ ๆ การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา ได้แก่ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความพร้อม การใช้เวลาเพื่อการศึกษา ประสิทธิภาพในการเรียน
การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา มีองค์ประกอบดังนี้ โครงสร้างองค์กร บุคลากร กระบวนการ กลยุทธ์และยุทธวิธี เครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา มี 3 ระดับ คือ ความเป็นเลิศของบุคคล ความเป็นเลิศของทีมงาน ความเป็นเลิศขององค์กร
หลักการของนวัตกรรมการศึกษา มีหลักการไว้ 5 ประการ คือ
1. นวัตกรรมเป็นเรื่องความคิด
2. เป็นกุญแจสำคัญเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
3. ประสิทธิภาพของนวัตกรรมสามารถเพิ่มราคาได้
4. ผู้บริหารสูงสุดต้องนำและมีความรับผิดชอบต่อนวัตกรรม
5. ผู้บริหารสูงสุดต้องผูกพันและแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น
แนวโน้มของนวัตกรรมและการใช้นวัตกรรมใหมาในองค์กร ดังนี้
1. การสร้างนวัตกรรมในองค์กร เช่น กล่องความคิด ทุนทางสติปัญญา
การบริหารนวัตกรรม
2. การใช้นวัตกรรมใหม่ในองค์กร
ช่องว่างของการจัดการนวัตกรรม ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การมีระบบรักษาความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล และการติดต่อสื่อสารกันได้โดยการตอบและรับข้อมูลตลอดเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น